วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 2

 บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
          แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ผู้วิจัยมุ่งศึกษาเพื่อดำเนินงานโครงการการศึกษาการใช้โปรแกรม Sony Vegas เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนทางเครือข่ายการสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามหัวข้อที่สำคัญดังต่อไปนี้
2.1 เอกสารเกี่ยวกับโปรแกรม Sony Vegas
2.1.1 ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม Sony Vegas
2.1.2 ความสามารถของโปรแกรม Sony Vegas
2.1.3 ส่วนประกอบของโปรแกรม Sony Vegas
2.1.4 ข้อดี ข้อเสียของโปรแกรม Sony Vegas
2.1.5 คุณสมบัติของโปรแกรม Sony Vegas
2.1.6 การใช้งานโปรแกรม Sony Vegas เบื้องต้น
2.2 เอกสารเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ
          2.2.1 ประโยชน์ของงานวีดีโอ
          2.2.2 แนวคิดในการสร้างวีดีโอ    
2.3 การเรียนการสอนแบบการจัดกระบวนการเรียนที่เน้นการปฏิบัติ
2.3.1 แนวคิดทฤษฎีที่ใช้
2.3.2 ลักษณะการพัฒนารูปแบบ
2.3.3 ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
2.4 ทฤษฎีการเรียนรู้
2.4.1 ความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้
          2.4.2 การจำแนกทฤษฎีการเรียนรู้
             2.4.2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม Behaviorism
             2.4.2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม Cognitivism
             2.4.2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มมนุษย์นิยม Humanism
2.1 เอกสารเกี่ยวกับโปรแกรม Sony Vegas
2.1.1 ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม Sony Vegas
Vegas หรือ ชื่อเต็ม คือ Sony Vegas คือโปรแกรมตัดต่อวิดีโอบนระบบปฏิบัติการWindows มีชื่อเสียง ตัวหนึ่ง เนื่องจากมีราคาแพง ประมาณ400-600 USD นับตั้งแต่รุ่น 2มา ซึ่งตอนนี้Vegas ได้พัฒนามาถึงรุ่น 8 แล้ว และVegasเป็นซอฟต์แวร์ประเภท Commercial (ซอฟท์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายหรือเรียกว่าซอฟท์แวร์เชิงพาณิชย์)
2.1.2 ความสามารถของโปรแกรม Sony Vegas Pro 12
          1. ตัดต่อภาพยนตร์ หรือ สร้างวีดีโอจากภาพนิ่ง
          2. ตัดต่อเสียง หรือ แต่งเสียงเพลง ดนตรี
          3. มีฟังก์ชั่นให้เลือกมากมาย เช่น การปรับโทนสี ปรับโทนเสียง สร้างภาพเก่าๆ เป็นต้น
          4. มีเอฟเฟกต์ให้เลือกมากมาย
          5. รองรับการทำงานแบบ Layer สามารถซ้อนภาพและเสียงได้อย่างชัดเจนไม่จำกัด
          6. สร้างเสียงแบบระบบ 5.1 ได้
          7. โปรแกรมใช้งานได้รวดเร็ว ไม่กระตุก
          8. สนับสนุนรูปแบบสื่อได้หลากหลาย เช่น VCD, SVCD, DVD, และสื่อวีดีโอสำหรับแสดงผลบนเว็บไซต์
          9. รองรับรูปแบบไฟล์อย่างหลากหลาย เช่น JPG, PSD, AVI , MOV และอื่นๆ อีกมากมาย
2.1.3 ส่วนประกอบของโปรแกรม Sony Vegas
องค์ประกอบหน้าตาโปรแกรม
1.       Menu Bar คือ แถบเมนูสำหรับรวบรวมคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม
2.       Tool Bar คือ แถบเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานบ่อยๆ เช่น New ,  Open , Save , Cut , Copy เป็นต้น
3.       Support Windows คือ หน้าต่างที่ใช้สำหรับรวบรวมฟังก์ชั่นต่างๆ ของโปรแกรม รวมถึง การเข้าถึงไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
4.       Time line คือ ส่วนที่แสดงผลระยะเวลาในการทำงานของ Cursor
5.       Layer คือ ส่วนที่ใช้สำหรับ ซ้อนวีดีโอ เสียง หรือวัตถุอื่นๆ โดยแยกเป็นชั้นๆ ไป
6.       Preview Windows คือ หน้าต่างสำหรับแสดงผลวีดีโอที่เรากำลังดำเนินการตัดต่อ
7.       Mixer คือ ส่วนที่ใช้สำหรับปรับระดับเสียงให้กับงาน
8.       Control Bar คือ ส่วนที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของโปรเจ็ค เช่น เล่น หยุด พัก หรือ บันทึก เป็นต้น
9.       Status Bar คือ แถบแสดงข้อมูลว่าเราสามารถเก็บข้อมูลได้อีกกี่นาที ในเครื่องของเรา ความสำคัญของ Title
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้สาหรับภาพยนตร์ทุกเรื่องก็คือ Title ซึ่งจะเป็นตัวบอกถึงที่มาของภาพยนตร์ที่กาลังจะได้รับชม ประกอบด้วย ชื่อผู้สร้างหรือผู้ผลิต ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แสดง และทีมงาน แต่บางที Title อาจเป็นเพียงข้อความสั้นๆ เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่กาลังจะได้รับชม ก็เป็นได้
การสร้าง Title
การสร้าง Title ในโปรแกรมสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
1. คลิกที่เมนู Insert แล้วเลือกคาสั่ง Text Media
            2. คลิกขวาที่ Video track แล้วเลือกคาสั่ง Text Media
        การแก้ไขข้อความ
หากต้องการแก้ไขข้อความ หรือเปลี่ยน Effect สามารถทาได้ 2 วิธี ดังนี้
          1. คลิกขวาบน Text ที่ต้องการแก้ไข แล้วเลือกคาสั่ง Edit Generated Media
            2. คลิกไอคอน Generated Media ที่จะแปะอยู่บน Text ใน Timeline 
การปรับแต่ง Transition
ส่วนสำคัญอีกประการ ที่ทาให้ Title มีความน่าสนใจ นั่นคือการปรับแต่ง Transition นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม Vegas ได้รวบรวมเอา Transition ไว้มากมาย ซึ่งผู้ตัดต่อสามารถเลือกใช้ Transition เหล่านั้นได้ตามความเหมาะสม
วิธีเพิ่ม Transition มีด้วยกันหลายวิธี ในที่นี้จะนาเสนอเฉพาะวิธีที่ง่ายที่สุด นั่นคือ การลากแล้วปล่อย โดยเลือก Transition ที่ต้องการแล้วลากลงมาปล่อยยังตำแหน่งที่ต้องการให้เกิด Transition
การแทรกภาพ
การแทรกภาพในโปรแกรม Vegas สามารถทาได้หลายวิธี ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวก ซึ่งจะขอยกตัวอย่างมาเพียง 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 เลือกรูปภาพที่ต้องการจาก หน้าต่าง Explore แล้วลากมาปล่อยบน Timeline
วิธีที่ 2 คลิกปุ่ม Import ในหน้าต่าง Project Manager เพื่อรวบรวมภาพที่ต้องการ
 การปรับแต่งภาพ
คุณสมบัติของโปรแกรม Vegas คือ เราสามารถตกแต่งภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยวิธีการที่สะดวกอีกทั้งยังสามารถปรับแต่งได้เพิ่มเติมตามใจชอบ
วิธีการปรับแต่งภาพใน Vegas สามารถทาได้โดย เลือก effect จาก Video FX แล้วลากมาวางบนภาพที่ต้องการปรังแต่ง ตัวอย่างเช่น การเพิ่ม effect ที่ชื่อว่า Add Noise
การสร้างวีดิทัศน์
การผลิตวีดิทัศน์นั้น ต่อให้มีภาพที่ดี มีเพลงที่ดี มีอุปกรณ์ในการตัดต่อที่ดี ก็ใช่ว่าวีดิทัศน์ที่ออกมานั้นจะดีไปด้วย เพราะวีดิทัศน์เป็นสื่อที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างสูง ในทุกขั้นตอนของการผลิต โดยขั้นตอนการผลิตวีดิทัศน์นั้น ประกอบด้วย 3P ได้แก่
Pre-Production การเตรียมการก่อนการผลิต
Production การดาเนินการถ่ายทา
Post-Production ขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต นั่นคือการตัดต่อก่อนนาไปเผยแพร่
ดังนั้น การผลิตวีดิทัศน์ที่ดี จึงจาเป็นที่จะต้องมีการเตรียมเรื่อง คิด Concept และ Theme เขียน Script และเขียน StoryBoard เพื่อให้เห็นแนวทางในการผลิตที่ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มีทีมงานผู้ผลิตหลายคน หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ ก็อาจจะเป็นปัญหาในการทางานได้
Concept และ Theme
เป็นการกาหนดแนวคิด และทิศทางของวีดิทัศน์ รวมไปถึงรูปแบบของวีดิทัศน์ที่จะนาเสนอ เช่น โฆษณาการท่องเที่ยวประเทศไทย มี Concept คือ นาเสนอความสวยงามของประเทศไทย ดังนั้น Theme ของเรื่องก็คือ เมืองไทยเป็นประเทศที่สวยงาม ซึ่งต่อไป การเขียน Scripts และ Storyboard ก็จะต้องดาเนินไปตาม Concept และ Theme ของเรื่องที่กำหนดไว้
Scripts
สคริปต์หรือบท ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะบทพูดของตัวละครเท่านั้น แต่มีความหมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่จะปรากฎบนจอ ไม่ว่าจะเป็น ฉาก มุมกล้อง การเคลื่อนกล้อง การตัดต่อ ตัวหนังสือ เสียงเพลง ดนตรีประกอบ ซาวด์เอฟเฟค ฯลฯ ซึ่งสคริปต์จะต้องบอกรายละเอียดทุกอย่างได้ทั้งหมด เพื่อให้ทุกฝ่ายที่อยู่ในกระบวนการผลิตเข้าใจตรงกัน
Storyboard
เป็นภาพวาดที่สร้างขึ้นจาก Scripts โดยจะแสดงภาพร่างที่จะไปปรากฏบนจอจริงๆ ยิ่ง Storyboard ระบุรายละเอียดมาเท่าไหร่ ก็ทาให้การทางานสะดวกมาขึ้นเท่านั้น
การ Render
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดต่อวีดิทัศน์ คือ การ Render เพื่อนำวีดิทัศน์ออกไปใช้ตามรูปแบบที่ต้องการ ระยะเวลาในการ Render จะขึ้นอยู่กับความยาวของวีดิทัศน์ คุณภาพของวีดิทัศน์ และประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสำคัญ
เนื่องจากการ Render ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลานาน ดังนั้น จึงจาเป็นต้องมั่นใจว่า งานตัดต่อทุกอย่างเรียบร้อย ถูกต้อง และตรงตามความต้องการ โดยควรจะ Preview ดูจนมั่นใจ จึงทำการ Render
2.1.4 ข้อดีและข้อด้อยของโปรแกรม Sony Vegas
ข้อดี
ใช้งานง่าย ทำให้มือใหม่เรียนรู้ได้เร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตำราใด ในเบื้องต้นได้ เพียงแค่ลากวาง มั่วๆก็เป็นแล้วในการตัดต่อง่ายๆ สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพไม่สูงนัก ในการใช้งานที่สำคัญมีDownload ฟรีที่ เว็บไซต์เลย เพียงแค่ หา crack หรือ แค่เลขเด็ด ก็ใช้งานได้สมบูรณ์แล้ว เป็นต้น

ข้อด้อย
 บางอย่างยังด้อยกว่า โปรแกรมชื่อดังที่มีอายุมานานแล้ว เช่น มีการสนับสนุนจากบรรดาผู้ผลิต โปรแกรมที่เรียกว่า plug ins ต่างๆน้อย รวมถึง การใช้งานร่วมกับ อุปกรณ์ต่างๆด้วย เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอ ที่ไม่แพร่หลายเท่า แต่ปัจจุบัน เริ่มดีขึ้น ผู้ผลิตโปรแกรมต่างๆปรับแต่งให้สามารถใช้ร่วมกับ Vegas ได้มากขึ้น
2.1.6 การใช้งานเบื้องต้น
การเริ่มต้นตัดต่อเราควรรู้จัก คีย์ลัดที่ใช้บ่อยๆ กัน
1. space bar     =     คือ ใช้สำหรับ Play / Stop หรือการเล่นการหยุด งานใน timeline
2.     S             =     คือ ใช้สำหรับตัด clip ให้เป็นท่อนๆ
3.    Ctrl + c      =     คือ การ copy file วีดีโอ
4.   Ctrl + v      =     คือ การวาง file วีดีโอในตำแหน่งที่เราต้องการ
5.    Ctrl + x     =    คือ การคัตวีดีโอเพื่อจะนำไปวางในส่วนอื่น
6.    Ctrl + z     =     คือ ย้อนกลับการทำครั้งล่าสุด 1 ครั้ง
7.    V              =    คือ การมาร์คจุดเพิ่ม / ลด เสียงตามที่เราต้องการ
8.    V  + Shift   =  คือ การเพิ่มลดเสียงอย่างง่าย โดยการกด Shift ค้าง จะให้เป็นสัญลักษณ์รูปดินสอ ขึ้นสามารถลากเพิ่มลดเสียงตามที่เราต้องการ
9.  U                 =   คือ การแยกภาพและเสียงออกจากกัน
10 ctrl + g         =   คือ การรวม file วีดีโอแต่ละชิ้นมารวมกันโดยการกด ctrl ค้างไว้เลือก file ที่ต้องการรวมจากนั้นกด g ก็จะเป็นวีดีโอก้อนเดียวกัน
11.  Ctrl + s       =   คือ การเซฟงานครั้งล่าสุดที่เราทำไว้


2.2 เอกสารเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ
          2.2.1 ประโยชน์ของงานวีดีโอ
     1.  แนะนำองค์กรและหน่วยงาน  การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
      2.  บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ งานวันเกิดงานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
      3.  การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอ
โดยตรง  เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT   เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage  และอื่นๆ
          4.  การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ  ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
          5.  วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง  วิทยากรที่เชิญมาบรรยายผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว  โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ

2.2.2 แนวคิดในการสร้างวีดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวีดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิดวางแผนมาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวีดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลยโดยไมมีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเสมอก็คือการไม่ได้ตามที่ต้องการ  เนื้อที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ
1.       เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างวีดีโอ คือ การเขียน Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริง  ในการเขียน Storyboard  อาจมีวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพประกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการจะสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก ตามลำดับ
2.       เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วีดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือ ไฟล์ดนตรี
3.       ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อ คือ การนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวีดีโอ งานวีดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปนี้

4.       ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวีดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5.       แปลงวีดีโอเพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวีดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานวีดีโอที่เราทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead video studio 8 สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD,DVD หรือเป็นไฟล์ wmv สำหรับนำเสนอทางอินเตอร์เน็ต

2.3 รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนที่เน้นการปฏิบัติ
2.3.1) แนวคิดทฤษฎีที่ใช้
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริงเป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทา ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทา ฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองและ
รูปแบบการสอนของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey, 1859) นักปรัชญาและนักจิตวิทยาพัฒนาการ ได้นำเสนอรูปแบบการสอนชื่อ “Group Investigation Model” ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่มุ่งพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้อยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(Interpersonal) ทักษะการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม และการใฝ่หาความรู้ของผู้เรียน โดยผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก หรือเป็นเพียงที่ปรึกษาทางวิชาการ
การแบ่งกลุ่มทำงาน (GroupingWorks) ผู้สอนจะดำเนินการร่วมกับผู้เรียนแบ่งกลุ่มย่อย มอบให้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศึกษาค้นคว้า แก้ปัญหา หรือปฏิบัติกิจกรรม ฯลฯ เน้นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะตามแบบประชาธิปไตย การสอนแบบนี้ต้องดำเนินการอย่างมีหลักเกณฑ์ คือ
- วางจุดประสงค์ของการทำงาน
- วางหน้าที่แต่ละคนให้แน่นอน
- เสนอแนะให้รู้ว่าจะหาความรู้ได้อย่างไร เมื่อไร ที่ใด

การสอนแบบปฏิบัติการ มีกำเนิดมาจากการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีทดลองในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้สารเคมีในการตรวจสอบ วิเคราะห์ ต่อมากลายเป็นกระบวนการสอนที่อาศัยการทดลองเครื่องไม้เครื่องมือและวัสดุต่าง ๆ ในปัจจุบันการสอนแบบปฏิบัติการมิได้ใช้เฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังใช้ในวิชาคหกรรมศาสตร์ ศิลปะปฏิบัติ สังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ อาชีวศึกษา และธุรกิจศึกษาด้วย ปัจจุบันการสอนแบบวิธีการปฏิบัติการเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ผู้เรียนได้ทดลองทำปฏิบัติ เสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล พิจารณาหาข้อสรุป ค้นคว้าหาวิธีการ กระบวนการด้วยตนเอง หรือร่วมกันเป็นกลุ่ม

2.3.2 ลักษณะการพัฒนารูปแบบ
2.1) รูปแบบการสอนการสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation Model) 5 ลักษณะการสอนรูปแบบการสอนการสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มนี้ได้พัฒนามาจากแนวความคิดของจอห์น ดิวอี้ ในเรื่องของประชาธิปไตยในการเรียนรู้ กล่าวคือ การศึกษาในสังคมประชาธิปไตยควรจะสอนกระบวนการประชาธิปไตยให้แก่ผู้เรียนโดยตรง อย่างน้อยควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามปัญหาสังคม หรือซักถามคำถามต่าง ๆ ในขณะที่เรียนรูปแบบนี้ออกแบบมาเพื่อนำไปใช้ในวิชาต่าง ๆ กับผู้เรียนทุกระดับอายุ ซึ่งมีจุดเน้นที่มุ่งให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์พิจารณาปัญหาให้เป็น และพิจารณาให้รอบด้าน ให้รู้จักวิธีการรวบรวมข้อมูล การตั้งสมมติฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยที่ผู้สอนควรได้จัดกระบวนการกลุ่ม และจัดระเบียบในการทำงานให้แก่ผู้เรียน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการรวบรวมข้อมูล และการทำกิจกรรมของผู้เรียน จากการสำรวจกระบวนการใช้รูปแบบนี้นักการศึกษาพบว่าการนำรูปแบบนี้ไปใช้อย่างมีชีวิตชีวาก่อให้เกิดผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างดี (Joyce and Weil, 1986)    กล่าวโดยสรุปแล้ว ลักษณะการสอนของรูปแบบนี้จะเน้นให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาหาความรู้ตามหลักประชาธิปไตยให้ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้ได้ค้นคว้าหาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มิใช่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนเกิดนิสัยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้ด้วยความมั่นใจ
3 ความมุ่งหมาย
1. เพื่อฝึกกระบวนการกลุ่มในการทางานแบบประชาธิปไตย ฝึกการเป็นผู้นากลุ่ม ฝึกการ
เป็นสมาชิกกลุ่ม และฝึกการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2. เพื่อฝึกวิธีการสืบเสาะค้นคว้าหาความรู้อย่างมีกระบวนการ ฝึกการวิเคราะห์ปัญหา การ
ขบคิดปัญหา การพิจารณาปัญหาหลาย ๆ ด้าน การสำรวจและรวบรวมข้อมูลสนับสนุนสมมติฐานเพื่อการสรุปผลอย่างมีเหตุผล
3.เพื่อฝึกการกล้าคิด กล้าแสดงออก ฝึกการตัดสินใจ ฝึกความรับผิดชอบ และความมุ่งมั่น
ในการทางานให้สำเร็จ
4. เพื่อปลูกฝังนิสัยการสืบเสาะค้นคว้าหาความรู้ เป็นผู้ใคร่รู้ใคร่เรียน รักการค้นคว้า หา
ข้อมูลมาเป็นคาตอบต่อปัญหาหรือคาถามที่ได้รับด้วยตนเอง




4.      ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ผู้สอนเสนอปัญหา
ผู้สอนเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิดหาคาตอบ การเสนอปัญหานี้ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเรียน ให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา โดยที่ผู้สอนอาจใช้สื่อการสอนนาเรื่อง เช่น ให้ดูโทรทัศน์ ดูภาพ ฟังข่าว สาธิตให้ดู เล่าเรื่องให้ฟัง หรือให้เห็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขจากที่ผู้สอนเตรียมมา
ขั้นที่ 2 กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหา
ผู้เรียนพิจารณาปัญหาว่าจากข้อมูลหรือปัญหาที่ได้รับเกิดความคิดสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง ใคร่จะไปศึกษาเรื่องใดเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลมาตอบคาถามนั้น ผู้เรียนอาจคิดได้หลายประเด็นเป็นปัญหาย่อย ๆ ที่เกิดขึ้นผู้สอนต้องให้กลุ่มเลือกปัญหาที่อยากจะศึกษาอาจได้ 2-3 ปัญหาก็ได้ ดังนั้นในขั้นนี้จึงต้องมีการจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เป็นกลุ่มย่อยประมาณ 5-6 คน (6 คนดีที่สุด) ไม่ควรเกิน 8 คน แล้วรับผิดชอบประเด็นปัญหาที่จะไปศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลมาเป็นคาตอบ
ขั้นที่ 3 ผู้เรียนวางแผนงาน
ผู้เรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการทางานแบ่งงานกันไปศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ บริษัท ห้างร้านที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถาม สัมภาษณ์ อ่าน ค้นคว้า ฯลฯ
ขั้นที่ 4 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงาน
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้โดยแยกย้ายกันไปค้นคว้าหาความรู้อาจเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้
ขั้นที่ 5 ผู้เรียนรายงานผลงานและกระบวนการทำงาน
ผู้เรียนกลับมาเข้ากลุ่มรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลร่วมกันแล้วเสนอผลงานต่อที่ประชุมใหญ่ เสนอทั้งด้านข้อมูลที่ได้รับ ข้อสรุปของกลุ่ม และวิธีการสืบเสาะหาความรู้ของกลุ่ม
ขั้นที่ 6 ผู้เรียนกลับไปทากิจกรรมตามลาดับขั้นใหม่
ผู้เรียนร่วมกันพิจารณาว่ามีเรื่องใดที่เป็นปัญหาเพิ่มขึ้นอีก ถ้าผู้เรียนยังไม่พอใจกับความรู้นั้นใคร่จะค้นคว้าต่อก็ทาได้โดยดาเนินการตามขั้นที่ 1 ใหม่
5.  จุดมุ่งหมายของการสอนแบบปฏิบัติการ
โจน เลียวนาร์ด (Joan M. Leonard, 1972) ได้กล่าวถึงบทบาทของการสอนแบบนี้ไว้ดังนี้
1. เพื่อเรียนรู้ด้วยวิธีการ (Learning a Technique) ดังนั้นในการสอนผู้สอนอาจจะสาธิตวิธีการเฉพาะอย่างให้ผู้เรียนสังเกตแต่ต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสทดลองแสดงวิธีการนั้นด้วยตนเองด้วย เช่น การทาดอกตะแบก
2. เพื่อฝึกทักษะ (Practicing a Skill) การปฏิบัติการชนิดนี้ จะต้องจัดเวลาและสถานที่สาหรับให้ผู้เรียนฝึกทักษะให้คล่องแคล่วเพื่อนาไปใช้ เช่น การเพิ่มอัตราเร็วในการอ่าน
3. เพื่ออธิบายหลักการ (Illustrating & Principle) การปฏิบัติในแนวนี้เป็นการขยายความสิ่งที่ได้ยินด้วยการบอก ผู้เรียนได้นาสิ่งที่เรียนมาใช้กับปัญหาจริง เช่น การวางแผนและเตรียมอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วน
4. เพื่อรวมข้อมูลและแปลความ (Gathering Data and Gaining Experience in Its Interpretation) ให้ผู้เรียนมีโอกาสรวบรวมข้อมูล จัดหมวดหมู่แล้วสรุปผล หรือนาไปใช้ในการแก้ปัญหา เช่น การรวบรวมตัวเลขและคานวณภาษีเงินได้
5. เพื่อฝึกใช้เครื่องมือ (Learning to Use Equipment) ประสบการณ์ในห้องปฏิบัติการหรือโรงฝึกงานจานวนมากเป็นการสอนให้ผู้เรียนหัดใช้เครื่องมือที่จะเกี่ยวข้องกับการทางานต่อไป เช่น การใช้หม้ออบไอน้า 
6.เพื่อปฏิบัติการสร้างสรรค์ (Performing Creative Work) เป็นโอกาสให้ผู้เรียนทดลองเทคนิคต่าง ๆ จากการเรียน และแสดงความคิดในวิชาดนตรีจิตรกรรม ประติมากรรม และกวีนิพนธ์ เช่น การปั้นดินเหนียว ส่วนใหญ่แล้วประสบการณ์แบบปฏิบัติการที่ใช้จะมีจุดมุ่งหมายมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป การสอนแบบนี้ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเทคนิควิธีการบางอย่างและพัฒนาทักษะของตนอย่างจริงจังอีกวิธีหนึ่ง
6.  คุณค่าของการสอนแบบปฏิบัติการ
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ๆ เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการหากระบวนการและวิธีการต่าง ๆ
2. การเรียนจากการปฏิบัติจริง ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทาให้เกิดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้
3. บรรยากาศในชั้นเรียนจะเป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนจะต้องแสดงความคิดเห็น และรับผิดชอบต่องานของตน และของกลุ่ม
4. การเรียนแบบปฏิบัติการทาให้ผู้เรียนอยู่ในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
5.เปิดโอกาสในการนาปัญหาต่าง ๆ มาให้ผู้เรียนคิดโดยอาศัยสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเป็นเครื่องช่วยให้เกิดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ หาเหตุผล และสร้างสรรค์การแก้ปัญหานั้น
6.ช่วยเร้าให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาด้วยตนเองและกระบวนการกลุ่มจากแนวคิดรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม และการสอนแบบปฏิบัติการ นามาสังเคราะห์และพัฒนาแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติได้ดังนี้ ผู้สอนต้องเชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ลักษณะการออกแบบการเรียนรู้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นพบ เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้สภาพจริง เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีอิสระในการปฏิบัติงานการเรียนรู้ที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง จะสร้างประสบการณ์ทางสมองของผู้เรียนได้อย่างดียิ่ง เป็นกระบวนการที่เน้นความพยายามทางสมอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหมาย และมีการควบคุมตนเองในการเรียนรู้จากเนื้อหาสู่กระบวนการเรียนรู้ที่มาจากผู้เรียน ซึ่งจะมีความหลากหลายองค์ความรู้ที่ไม่มีขีดจากัด ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน โดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ใช่คุณภาพของการจา แต่เป็นศักยภาพของความใส่ใจและแรงผลักดันของแต่ละบุคคล อารมณ์พื้นฐานของผู้เรียนจะถูกพัฒนาไปสู่คุณธรรมและจริยธรรมต่อไป
การพัฒนาแบบองค์รวม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนทุก ๆ คน ทุก ๆ ด้าน บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้กระทา
4.1 ให้โอกาสผู้เรียนเรียนรู้ตามความถนัดและความต้องการของแต่ละบุคคล และลดเนื้อหาจากหลักสูตรที่อัดแน่น
4.2 ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ผู้เรียนให้ติดตามสิ่งที่น่าสนใจ สร้างความเชื่อมโยงกับแนวคิดหลักและสรุปผลจากการเรียนรู้
4.3 ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญเพราะปัจจุบันสังคมโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น
4.4 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเองและให้มีการแลกเปลี่ยนทั้งด้านความคิดเห็น
และวิธีการแก้ปัญหาตามแนวทางประชาธิปไตย
4.5 ยอมรับว่ากระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการประเมินการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอยู่เสมอ และไม่มีเกณฑ์ตายตัวสาหรับการดาเนินการ
5 กิจกรรมการเรียนรู้เป็นโครงสร้างแบบเปิด มีความยืดหยุ่นหลากหลาย ผู้เรียนลงมือกระทาเป็นวงจรการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
6 การประเมินการเรียนรู้ เป็นการประเมินที่เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับความเป็นจริง มุ่งเน้นการประเมินจากสภาพจริง
การเรียนรู้ที่มีพลังจะต้องให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองเพราะผู้เรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร และจะเป็นวิธีที่ผู้เรียนจะสนุกสนานกับการเรียนรู้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองมากที่สุด

2.3.3) ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
3.1) การเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้
สำรวจความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง
สำรวจเพื่อให้ทราบความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน และเมื่อทราบความต้องการแล้ว ก็จะนามาจัดอันดับความต้องการสูงสุดเรียงตามลาดับ จึงเปิดสอนวิชานั้น ๆ
การวิเคราะห์หลักสูตรและคาอธิบายรายวิชา
หลังจากที่สำรวจความต้องการแล้วจะนาหลักสูตรและคาอธิบายรายวิชามาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่ามีเนื้อหาอะไร มีจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างไรและมีกิจกรรมใดบ้างที่จะปฏิบัติ จากนั้นก็จะนามากาหนดการสอนเพื่อจัดทาแผนการสอนต่อไป โดยเฉพาะการวิเคราะห์คาอธิบายรายวิชา ผู้สอนจะนามาให้ผู้เรียนลองฝึกการวิเคราะห์ก่อนเรียนทุกครั้ง เพื่อให้ทราบว่าในรายวิชานั้นมีเนื้อหา จุดประสงค์ และกิจกรรมใดบ้างที่จะต้องปฏิบัติ เป็นการฝึกคิดและการวางแผนก่อนเรียน
การจัดทาแผนการสอน
แผนการสอนเป็นหัวใจของกระบวนการจัดการเรียนให้บรรลุถึงเป้าหมาย โดยจะนากำหนดการสอนมาจัดทาแผนการสอน การจัดทาจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมครูให้” “ครูบอกแต่จะเน้นลงไปที่ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ลงมือปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการวัดผลประเมินผลต้องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ จิตพิสัย ทักษะพิสัย และพุทธิพิสัย และตรงตามสภาพจริงให้มากที่สุด แผนการสอนต้องทาล่วงหน้าก่อนนาไปสอน และอาจปรับให้เหมาะสมได้
สื่อการเรียนรู้
พยายามจัดหาโดยคำนึงถึงธรรมชาติและที่ผู้เรียนรู้จักหรือที่มีอยู่ใกล้ตัวในชุมชน โดยใช้ความสังเกต และวิเคราะห์เลือกใช้สื่อบางชนิดผู้เรียนสามารถนามาปฏิบัติเองได้ จะเกิดความรักและความทะนุถนอมของใช้และใช้อย่างระมัดระวัง แต่ในบางอย่างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกันในการจัดหา หรือผลิตใช้เอง จะทาให้ผู้เรียนเกิด    
ความภูมิใจ
การจัดเตรียมแหล่งการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ไม่จาเป็นที่ผู้เรียนต้องอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แหล่งความรู้ที่ผู้เรียนสามารถใช้ศึกษาหาความรู้ได้มีอยู่รอบด้าน ได้แก่ ห้องสมุด ใต้ต้นไม้ สถานที่ท่องเที่ยวหรือใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเข้ามาเป็นวิทยากรได้
การวัดผลการประเมินผล
กำหนดพฤติกรรมที่ต้องการวัดผลประเมินผล กำหนดวิธีการและเครื่องมือการวัดผลประเมินผลไว้ให้พร้อม
3.2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอน คือ
1. ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
เป็นขั้นตอนแรกที่ผู้สอนจะต้องกระตุ้น ชักจูง และโน้มน้าวให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นและสนใจอยากค้นหาความรู้ ผู้สอนอาจใช้วิธีการสนทนาซักถามและทบทวนประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ที่จะต้องเรียนรู้ ผู้สอนอาจใช้สื่อการสอน เช่น แผ่นใส ภาพสี หรืออื่น ๆ มาเป็นสิ่งเร้าช่วยดึงความสนใจของผู้เรียน อาจใช้คาถามยั่วยุต่าง ๆ และที่สำคัญจะต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนตอบสนองเช่น การกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบคาถามหรือแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อโยงเข้าหาประสบการณ์ใหม่ ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ (อาจเพิ่มเติมได้หากผู้เรียนต้องการ) และร่วมกันกำหนดขอบข่าย/ประเด็นความรู้ใหม่
2. ขั้นศึกษาวิเคราะห์
เป็นขั้นตอนการแบ่งกลุ่มผู้เรียนเพื่อทากิจกรรมกลุ่มร่วมกันโดยการแสวงหาความรู้ แสดงความคิดเห็นร่วมกันวิเคราะห์และหาข้อสรุปในประเด็นที่ได้ตั้งไว้ในการทากิจกรรมตามขั้นตอนนี้ผู้สอนจะต้องออกแบบกลุ่มให้เหมาะสม เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม ผู้สอนต้องจัดหาสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ เช่น แผนภูมิ ใบความรู้ แผ่นใส รูปภาพ วีดีทัศน์ หนังสือ เอกสาร หรืออื่น ๆ เพื่อให้กลุ่มผู้เรียนได้ช่วยกันศึกษาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยการตั้งประเด็นหรือหัวข้อในการศึกษาวิเคราะห์ให้เป็นไปตามแนวทางของจุดประสงค์การเรียนรู้และความต้องการของผู้เรียน การออกแบบงานโดยจัดทาเป็นใบงานให้ผู้เรียนได้ทากิจกรรมกลุ่มเป็นหัวใจสำคัญที่ผู้สอนจะต้องคิดค้นและสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมสูงสุดของผู้เรียนและเกิดการบรรลุงานกลุ่มด้วย ตัวแทนกลุ่มนาเสนอผลงานกลุ่ม ผู้สอนทาหน้าที่นาอภิปรายให้กลุ่มใหญ่ร่วมกันวิเคราะห์ให้ข้อมูลประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนหากเห็นว่ายังไม่สมบูรณ์ผู้สอนช่วยเพิ่มเติม แล้วร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนรู้ทั้งหมดในขั้นนี้
3. ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง
เป็นขั้นที่แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิเคราะห์เพื่อให้ได้กระบวนการการปฏิบัติที่ชัดเจน รอบคอบ รัดกุม ทาให้เกิดผลงาน ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ฝึกคิด วิเคราะห์ จินตนาการ สร้างสรรค์ โดยผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือ และประเมินการปฏิบัติเพื่อแก้ไขหากมีข้อบกพร่อง สถานที่สาหรับการปฏิบัติ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวางแผน จะใช้แหล่งเรียนรู้ใด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการในโรงเรียน ห้องเรียนธรรมชาติ หรือสถานประกอบการ ก็สุดแล้วแต่ที่นั้นจะทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว
4. ข้อสรุปและเสนอผลการเรียนรู้
เป็นขั้นที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะได้ประมวลข้อมูลความรู้จากประสบการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ สรุปและนาเสนอสิ่งที่ค้นพบต่อกลุ่มใหญ่ในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน เกิดการขยายเครือข่ายความรู้อย่างกว้างขวาง ทาให้การเรียนรู้มีความหมายยิ่งขึ้น
5. ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้และนาไปใช้
เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มปรับปรุงผลงานของตนเองที่ได้แนวคิดจากการนาเสนอของแต่ละกลุ่มในการปรับปรุงผลงานนั้นอาจนาความรู้ที่ได้รับจากกลุ่มอื่นมาพัฒนาให้ดีขึ้น หรือเกิดความคิดใหม่ สร้างสรรค์งานที่ต่างจากเดิม หรืออาจได้รับแนวคิดจากข้อเสนอแนะของผู้สอนมาประยุกต์สร้างผลงานใหม่ ๆ ที่สามารถนาไปใช้ในสภาพการณ์จริงได้
6. ขั้นการประเมินผล วัดผลประเมินตามสภาพจริง
โดยเน้นการวัดจากการปฏิบัติจากแฟ้มสะสมงานชิ้นงาน/ผลงาน ผู้เรียนประเมินตนเอง สมาชิกของแต่ละกลุ่ม ผู้ปกครองและผู้สอนมีบทบาทร่วมวัดผลประเมินผลด้วย
4) ลักษณะเด่นของรูปแบบ
1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และสื่อที่เร้าความสนใจ
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองทาให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทางาน เช่น มีการวางแผนการทางาน มีความรับผิดชอบ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีวินัยในตนเอง มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย เป็นผู้นาและผู้ตามที่ดี รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนที่เรียนรู้ช้าจะเรียนรู้อย่างมีความสุข มีชีวิตชีวา ได้รับกาลังใจและได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ทาให้เกิดความมั่นใจ ผู้เรียนที่เรียนดีจะได้แสดงความสามารถของตนเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปันสิ่งที่ดีให้แก่กัน
4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคาตอบจากประเด็นคาถามของผู้สอนและเพื่อน ๆ สามารถค้นหาคาตอบและวิธีการได้ด้วยตนเอง สามารถแสดงออกได้ชัดเจนมีเหตุผล
5. ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองอยู่ตลอดเวลา
6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน โดยให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน ไม่นาผลงานของผู้เรียนมาเปรียบเทียบกัน มุ่งให้ผู้เรียนแข่งขันกับตนเองและไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป
7. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน คือ ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข เกิดการพัฒนารอบด้าน มีอิสระที่จะเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง และนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันได้อย่างเหมาะสม
2.4 ทฤษฎีการเรียนรู้
          2.4.1 ความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้
          การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล และเป็นปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลนั้นๆต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าที่เผชิญทำให้บุคคลสนองความต้องการของตน และทำให้สามารถเผชิญหรือปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมต่อไป (Berton,1963 อ้างถึงใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์, 2533) อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจำได้ (Roger, 1968 อ้างถึงใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์, 2533) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีลักษณะที่ถาวร หรืออาจเรียกว่าประสบการณ์นั่นเอง(สุวัฒน์ วัฒนวงศ์, 2533)
          2.4.2 การจำแนกทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มมนุษย์นิยม humanism
         
         

2.4.2.1 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
-  ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
          1.พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
          2.พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
          3.แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
          1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior)
หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
          2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior)
เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป
ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม
          1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้าผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน: การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้

จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลองของพาฟลอฟ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ และกฏการเรียนรู้ดังนี้
 -  ทฤษฎีการเรียนรู้
          1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
          2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
          3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
          4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปราฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
          5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
-   กฎแห่งการเรียนรู้
          1. กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction) คือ ความเข้มข้นของการตอบสนอง จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าอินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว หรือความ มีสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างออกไปมากขึ้น 
          2. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery) คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฎขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่ช่วย
          3. กฎแห่งสรุปกฏเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น 
          4. กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้ว ถ้าสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจาก สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้วเมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงประทัดหรือเสียงปืนจะไม่มีอาการน้ำลายไหล
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในมุมมองของพาฟลอฟ คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดการเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 สิ่งในลักษณะเดียวกัน แล้วไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกไป การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอ
-   การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
          1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
          2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
          3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
          4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกดคำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-n-d ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง o - u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม

2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory) หรือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ซึ่งมี สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เป็นเจ้าของทฤษฎีสกินเนอร์ได้ทดลองการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์กับหนูและนกในห้องทดลอง จนกระทั้งได้หลักการต่าง ๆ มาเป็นแนวทางการศึกษาการเรียนรู้ของมนุษย์สกินเนอร์มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ โดยพัฒนาจากทฤษฎีของ พาฟลอฟ และธอร์นไดค์ โดยสกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้งการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) การเสริมแรง หมายถึง ผลของพฤติกรรมใด ๆ ที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเข้มแข็งขึ้น
การเสริมแรงทางบวก หมายถึง สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นในด้านความที่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนการเสริมแรงทางลบเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์อาจจะทำให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นได้ในการด้านการเสริมแรงนั้น สกินเนอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยได้แยกวิธีการเสริมแรงออกเป็น 2 วิธี คือ
          1. การให้การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้
          2. การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว โดยไม่ให้ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยแยกการเสริมแรงเป็นครั้งคราว ได้ดังนี้
           2.1 เสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน
           2.2 เสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
           2.3 เสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
           2.4 เสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
การเสริมแรงแต่ละวิธีให้ผลต่อการแสดงพฤติกรรมที่ต่างกัน และพบว่า การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอนจะให้ผลดีในด้านที่พฤติกรรมที่พึงประสงค์จะเกิดขึ้นในอัตราสูงมาก และเกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลานานหลังจากที่ไม่ได้รับการเสริมแรง จากการศึกษาและทดลองของสกินเนอร์นั้น สามารถสรุปเป็นลักษณะ และทฤษฎีการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์หรือทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำได้ดังนี้

-   ทฤษฎีการเรียนรู้
          1. การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
          2. การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
          3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
          4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อผู้เรียนกระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้ 
-   การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
          1. ในการสอน การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตรากาตอบสนองที่เหมาะสมนั้น
          2. การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร
          3. การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนรู้ไม่ได้ ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
         
4. หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน ควรแยกแยะขั้นตอนของปฏิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน และจึงพิจารณาแรงเสริมที่จะให้แก่ผู้เรียน

2.4.2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจที่จะศึกษา เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด และการรับรู้ของบุคคลในช่วงที่กำลังเรียนรู้ว่า กระบวนการรับรู้มีการจัดกระทำกับข้อมูล เรียบเรียงความรู้ ความจำ หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาให้เป็นระบบระเบียบ หรือเป็นโครงสร้างเพื่อการพัฒนาด้านการเรียนรู้ (cognitive development) และสติปัญญาอย่างไร รวมทั้งได้นำเอาความรู้ความเข้าใจ และความจำ ที่เก็บมาใช้กับการแก้ไขปัญหาใหม่อย่างไรบ้าง ซึ่งจุดสนใจของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ ไม่ได้อยู่ที่สิ่งซึ่งสังเกตได้ หากแต่มุ่งไปยังกระบวนการคิดที่ซับซ้อน และยังให้ความสนใจกับความรู้สึกนึกคิด ความตั้งใจ และเป้าหมายของบุคคล โดยนักวิจัยกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นต้องอาศัยทั้งสิ่งแวดล้อมและตัวผู้เรียนประสานสัมพันธ์กัน กล่าวคือส่วนหนึ่งต้องมาจากความต้องการ ความตั้งใจ และเป้าหมายของผู้เรียน (ผู้เรียนต้องอยากเรียน) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าภายนอกเพียงอย่างเดียว ดังนั้นทฤษฏีนี้จะเน้นให้ตัวผู้เรียน มีบทบาทและส่วนร่วมเป็นอย่างมาก โดยที่ผู้เรียนจะต้องมีความมุ่งหมายและกำหนดวัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายของตัวเองไว้ (สมบูรณ์ ศาลยาชีวิน, 2526) ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ประกอบด้วย
2.3.2.1.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ (Jerome Bruner: ค.ศ.1915-.)บรูเนอร์เป็นชาวอเมริกัน เกิดที่เมือง New York ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1915 บิดามารดาคาดหวังให้เป็นนักกฎหมาย แต่บรูเนอร์กลับมาสนใจทางด้านจิตวิทยา และสำเร็จปริญญาเอกทางจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ.1962 ได้รับรางวัล Distinguished Scientific Contribution Award จากสมาคมจิตวิทยาของอเมริกา (APA) ต่อมาในปี ค.ศ.1964 ได้เป็นประธานของ The American PsychologicalAssociation (APA) ปัจจุบันเป็นสมาชิกของ Department of Experimental Psychology ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และเป็นผู้อำนวยการของ Harvard's Center for Cognitive Studies.ตามลำดับ (พรรณี ช.เจนจิต, 2528)
          ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ (Bruner, 1966 อ้างถึงใน ธวัชชัย ชัยจริยฉายุล, 2529) ได้แบ่งการพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์เป็น 6 ลักษณะ คือ
                   1) ความเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นสังเกตได้จากการเพิ่มการตอบสนองที่ไม่ผูกพันกับสิ่งเร้าเฉพาะตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
                   2) ความเจริญเติบโตขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในตัวคนไปสู่ "ระบบเก็บรักษา" ที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม
                   3) ความเจริญเติบโตทางสติปัญญาเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความสามารถที่จะพูดกับตนเองและคนอื่นๆโดยใช้คำพูดและสัญญลักษณ์ในสิ่งที่บุคคลนั้นๆได้ทำไปแล้วหรือสิ่งที่จะทำ
                   4) ความเจริญเติบโตทางสติปัญญาขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ที่เป็นระบบและโดยบังเอิญระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
                   5) การสอนสามารถอำนวยความสะดวกได้โดยสื่อทางภาษาซึ่งจบลงโดยไม่เพียงแต่เป็นสื่อสำหรับการแลกเปลี่ยนเท่านั้น   แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ผู้เรียนสามารถใช้ให้ตนเองนำ
คำสั่งไปยังสิ่งแวดล้อมด้วย
                   6) การพัฒนาทางสติปัญญาเห็นได้จากการเพิ่มความสามารถที่จะจัดการกับตัวเลือกหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันความสามารถที่จะเฝ้าดูขั้นตอนต่างๆในระยะเวลาเดียวกัน และความสามารถที่จะจัดเวลาและการเข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะที่เหมาะสมกับความต้องการหลายๆ อย่าง
          พรรณี ช.เจนจิต (2528) กล่าวถึง พัฒนาการทางสมองของบรูเนอร์ เน้นที่การถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
                   1) Enactive representation ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ 2 ปี เป็นช่วงที่เด็กแสดงให้เห็นถึงความมีสติปัญญาด้วยการกระทำและการกระทำด้วยวิธีนี้ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เป็นลักษณะของการถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยการกระทำซึ่งดำเนินต่อไปตลอดชีวิตมิได้หยุดอยู่เพียงในช่วงอายุใดอายุหนึ่ง บูรเนอร์ได้อธิบายว่าเด็กใช้การกระทำแทนสิ่งต่างๆหรือประสบการณ์ต่างๆเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจ บรูเนอร์ได้ยกตัวอย่าง การศึกษาของเพียเจท์ ในกรณีที่เด็กเล็ก ๆ นอนอยู่ในเปลและเขย่ากระดิ่งเล่น ขณะที่เขาบังเอิญทำกระดิ่งตกข้างเปล เด็กจะหยุดครู่หนึ่งแล้วยกมือขึ้นดู เด็กทำท่าประหลาดใจและเขย่ามือเล่นต่อไป ซึ่งจากการศึกษานี้ บรูเนอร์ได้ให้ข้อสังเกตว่า การที่เด็กเขย่ามือต่อไปโดยที่ไม่มีกระดิ่งนั้นเพราะเด็กคิดว่ามือนั้นคือกระดิ่งและเมื่อเขย่ามือก็จะได้ยินเสียงเหมือนเขย่ากระดิ่งนั่นคือ เด็กถ่ายทอดสิ่งของ (กระดิ่ง) หรือประสบการณ์ด้วยการกระทำตามความหมายของบรูเนอร์
          เกี่ยวกับเรื่องนี้บรูเนอร์ให้ความเห็นว่าในชีวิตประจำวัน พบว่าผู้ใหญ่บางคนยังใช้วิธีการสอนหรือแก้ปัญหาด้วยการกระทำให้เห็น ซึ่งให้ผลดีกว่าการอธิบายด้วยคำพูด เช่น การสอนขี่จักรยาน หรือเล่นเทนนิส หรือการกระทำอื่น ๆ อีกหลายอย่าง พบว่าวิธีที่ดีที่สุด คือ แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะได้ผลดีกว่าการอธิบาย เนื่องจากการอธิบายมีลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจ และบางครั้งก็ไม่สามารถหาคำพูดมาอธิบายได้ เพื่อให้เห็นภาพชัด แต่บางอย่างการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนก็จะเข้าใจทันทีโดยไม่ต้องอธิบาย ดังนั้นบรูเนอร์จึงมิได้แบ่งพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจให้หยุดอยู่เพียงในระยะแรกของชีวิตเท่านั้นเพราะถือว่าเป็นกระบวนการต่อเนื่องคนจะนำมาใช้ในช่วงใดของชีวิตอีกก็ได้
                   2) Iconic representation พัฒนาการทางความคิดในขั้นนี้อยู่ที่การมองเห็น และการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ จากตัวอย่างของเพียเจท์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเด็กอายุมากขึ้นประมาณ 2-3 เดือน ท าของเล่นตกข้างเปล เด็กจะมองหาของเล่นนั้น ถ้าผู้ใหญ่แกล้งหยิบเอาไป เด็กจะหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อมองไม่เห็นของเล่นนั้น บรูเนอร์ตีความว่า การที่เด็กมองหาของเล่นและร้องไห้ หรือแสดงอาการหงุดหงิดเมื่อไม่พบของ แสดงให้เห็นว่าในวัยนี้เด็กมีภาพแทนในใจ (iconic representation) ซึ่งต่างจากวัย enactive เด็กคิดว่าการสั่นมือกับการสั่นกระดิ่งเป็นของสิ่งเดียวกัน เมื่อกระดิ่งตกหายไป ก็ไม่สนใจ แต่ยังคงสั่นมือต่อไป การที่เด็กสามารถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการมีภาพแทนในใจแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กโตจะยิ่งสามารถสร้างภาพในใจได้มากขึ้น
                   3) Symbolic representation หมายถึงการถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยการใช้สัญลักษณ์ หรือภาษา ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความคิด ขั้นนี้เป็นขั้นที่บรูเนอร์ถือว่าเป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ เด็กสามารถคิดหาเหตุผล และในที่สุดจะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้และสามารถแก้ปัญหาได้ บรูเนอร์มีความเห็นว่าความรู้ความเข้าใจและภาษามีพัฒนาการขึ้นมาพร้อม ๆ กัน
          การนำแนวคิดไปใช้ในการจัดการศึกษา พรรณี ช.เจนจิต (2528) กล่าวว่า บรูเนอร์มีความเห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนสามารถช่วยจัดประสบการณ์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมได้โดยไม่ต้องรอให้พร้อมตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเสียเวลานั่นหมายความว่าตามแนวคิดของบรูเนอร์แล้ว  ความพร้อมสำหรับการเรียนรู้เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดเร็วขึ้นได้บรูเนอร์ได้เสนอว่าในการจัดการศึกษานั้นควรเชื่อมโยงผสมผสานระหว่างทฤษฏีพัฒนาการ และทฤษฏีการเรียนรู้และแนวคิดการจัดการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ทฤษฎีพัฒนาการจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหา (knowledge) และวิธีการสอน (instruction) ในการน าเนื้อหาใดมาสอนให้กับผู้เรียนนั้นผู้สอนควรพิจารณาว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับใด มีความสามารถเพียงใด และเนื้อหาที่จะสอนควรจะต้องปรับให้เหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียนที่จะสามารถเรียนหรือที่จะรับรู้ได้ โดยเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียนในวัยนั้นๆ ดังนั้น ผู้สอนก็สามารถสอนให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมได้โดยไม่ต้องรอ และเนื้อหาหนึ่งๆ สามารถสอนได้เด็กทุกวัยเกิดการเรียนรู้ได้ แต่ต้องปรับเนื้อหาและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละวัยนั่นเอง
          บรูเนอร์เชื่อว่าในการจัดการศึกษานั้น ควรที่จะทำให้เนื้อหาวิชามีความต่อเนื่อง เนื้อหาวิชาใดเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ก่อนที่จะเรียนเนื้อหาถัดไป หรือจะต้องใช้เมื่อตอนโตก็ควรรีบน าเนื้อหาวิชานั้นมาสอนให้กับเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ๆ โดยที่ปรับเนื้อหาวิชานั้นให้เหมาะสมกับความสามารถในการคิด หรือการรับรู้ของเด็ก หรือใช้ภาษาที่เด็กจะเข้าใจได้ ดังนั้นผู้สอนก็สามารถนำเนื้อหาวิชาใดๆ มาสอนผู้เรียนในระดับอายุเท่าไรก็ได้ ถ้ารู้จักใช้วิธีการที่เหมาะสม ซึ่งจากแนวคิดนี้บรูเนอร์จึงเสนอว่าในการจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้นควรมีลักษณะเป็น "spiralcurriculum" คือการจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็นเกลียวไปเรื่อยๆ และมีความลึกซึ้งซับซ้อนและกว้างขวางออกไปตามประสบการณ์ของผู้เรียน เนื้อหาเรื่องเดียวกันอาจเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ก็เรียนได้ทั้งสิ้น เช่นเกี่ยวกับเรื่อง "เซท" เด็กประถมก็เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ในลักษณะที่เป็นรูปธรรม นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยก็เรียนเรื่องนี้ แต่ในลักษณะที่เป็นนามธรรมที่ลึกซึ้งเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ซึ่งการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นแบบเกลียววน (spiral) นั่นเอง
          ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล (2529) กล่าวว่า จากความคิดของบรูเนอร์นี้นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนแบบ spiral curriculum โดยที่บรูเนอร์ชี้ให้เห็นว่า ทฤษฎีพัฒนาการจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาและวิธีสอน ดังนั้นผู้สอนสามารถสอนเนื้อหาใดๆ ให้กับผู้เรียนในช่วงวัยใดก็ได้ ถ้าจัดทั้งเนื้อหาและวิธีสอนให้สอดคล้องกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน ดังนั้นสำหรับบรูเนอร์แล้ว มองเห็นว่า "ความพร้อม" เป็นสิ่งที่สามารถสอนหรือเร่งให้เกิดเร็วขึ้น ซึ่งแนวคิดด้านการเรียนรู้ของบรูเนอร์นี้ยังคงมีอิทธิพลต่อความคิดของครูและผู้ปกครองอย่างยิ่ง ทำให้ทั้งครูและผู้ปกครองตระหนักและอยากให้ลูกมีความพร้อมเร็ว เรียนรู้ได้เร็ว กว่าเด็กอื่น (โดยไม่ตั้งใจ) จึงพยายามกระตุ้นหรือจัดให้เด็กเรียนรู้ก่อนวัยอันควร (เช่นการเรียนพิเศษก่อนเรียนตามชั้นปกติ) เกิดเป็นแรงกดให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ซึ่งบางครั้งเนื้อหาที่เรียนก็ยากเกินไปกว่าที่ผู้เรียนจะรับได้ หากเป็นเช่นนั้นการใช้แบบทดสอบวัดความพร้อมก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับตรวจสอบความพร้อมของผู้เรียนก่อนเรียน อย่างน้อยที่สุดถ้าพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม ก็ให้เวลาผู้เรียนปรับและพัฒนาตนเองสักระยะหนึ่งก่อนจะทำให้เกิดความมั่นใจขึ้น
          2.3.2.1.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Jean Piaget: ค.ศ.1896-1980) เพียเจท์ เป็นชาวสวิสต์ เกิดที่เมือง Neuchatel ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อปี ค.ศ.1986 เป็นศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา สนใจทางด้านชีววิทยาตั้งแต่วัยเด็ก บทความของเพียเจท์ได้รับการตีพิมพ์เมื่ออายุได้เพียง 10 ปี เพียเจท์ สำเร็จปริญญาเอกด้านชีวรักษาสัตว์จาก The University of Lausanne แต่ต่อมาได้หันมาสนใจศึกษาด้านจิตวิทยาโดยได้ศึกษาค้นคว้า รวบรวมหลักการทางชีววิทยาและปรัชญาด้านญานวิทยา(Epistemology) เข้าด้วยกัน เพียเจท์ได้ศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของ ฟรอยด์ (Freud) และจุง (Jung) เพียเจท์ ได้มีโอกาสท างานวิจัยที่สถาบัน Alfred Binet Laboratory School ในกรุงปารีส โดยศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความคิดและภาษาของเด็ก (กองวิชาการสปช. : 2535)
          ในระหว่างปี ค.ศ. 1923-1948 เพียเจท์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบัน J.J Rousseau แห่งเจนีวา ณ สถาบันแห่งนี้ เพียเจท์ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องพัฒนาการแห่งการเรียนรู้ของเด็กอย่างกว้างขวางทั้งด้านภาษา ความคิดของเด็ก ความสามารถในการตัดสินโดยวิจารณญาณการหาเหตุผล เกี่ยวกับสิ่งที่มีตัวตน เช่น เรื่องปริมาณ ความกว้าง ความยาว จำนวนนับ สิ่งไร้ตัวตน เช่น ความคิดเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ และเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา (ประสาท อิศรปรีชา : 2528) วิธีการศึกษาของเพียเจท์ เริ่มต้นด้วยการสนทนาโดยอิสระเป็นหลัก และการสังเกตพฤติกรรมทางสติปัญญา พฤติกรรมของเด็กต่อวัตถุ บุคคล สถานการณ์ โดยใช้ข้อมูลจากบุตรทั้งสามของตนเองมาประกอบการศึกษาค้นคว้าด้วย ซึ่งนับเป็นการศึกษาพฤติกรรมของเด็กระยะยาว การวิจัยนี้ทำให้เกิดทฤษฎีว่าด้วยการปรับตัวและสร้างบุคลิกภาพของเด็ก และแพร่หลายในยุโรป ตั้งแต่ปี 1930 และแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1960 คือ ทฤษฎี การพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget's Theory of Cognitive Development) (เสาวภา วัชรกิตติ, 2537)
         
พรรณี ช. เจนจิต (2528) กล่าวว่า ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์เป็นทฤษฎีที่ศึกษาถึง
กระบวนการคิดทางด้านสติปัญญาของเด็กจากแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวมีอิทธิพลต่อความรู้ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการอย่างมากเพียเจท์ได้กระตุ้นให้นักวิชาการสนใจกับขั้นตอนของพัฒนาการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ   เพียเจท์มีความเชื่อว่า เป้าหมายของพัฒนาการของมนุษย์คือ 1) ความสามารถที่จะคิดอย่างมีเหตุผลกับสิ่งที่เป็นนามธรรม
2) ความสามารถที่จะคิดตั้งสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผล
 3) ความสามารถที่จะตั้งกฎเกณฑ์และการแก้ปัญหา โดยเพียเจท์กล่าวว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาแต่กำเนิด2 ลักษณะ คือ 1)การจัดระบบภายใน (organization) และ 2)การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม (adaptation) ซึ่ง
          1) การจัดระบบภายใน เป็นการจัดการภายในโดยวิธีรวมกระบวนการต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ อย่างต่อเนื่องกันเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เด็กเล็กเห็นของแล้วคว้า ซึ่งกิจกรรมนี้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ เห็นและคว้า การที่เด็กสามารถทำกิจกรรม 2 อย่าง ได้ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า เป็นการรวมกระบวนการเข้าเป็นระบบ
          2) การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม หมายถึงการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นแนวโน้มที่มีแต่กำเนิด การที่มนุษย์มีการปรับตัว เนื่องจากการที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการปรับตัวนี้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือการดูดซับ (assimilation) และการปรับให้เหมาะ (accommodation) ผลจากการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงจะก่อให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญา จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง จนในที่สุดถึงขั้นที่เรียกว่า Operation ซึ่งหมายถึงความสามารถที่เด็กจะคิดย้อนกลับได้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของพัฒนาการทางสติปัญญาตามความคิดของเพียเจท์ ซึ่งทฤษฏีดังกล่าว กล่าวว่า
มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด อันเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวเข้ากับ
สภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงนี้ต้องอาศัย 2 กระบวนการ คือ กระบวนการดูดซับ
(assimilation) และกระบวนการปรับให้เหมาะ (accommodation)
          1) กระบวนการดูดซับ เป็นกระบวนการที่เกิดก่อน กล่าวคือเมื่อเด็กแรกเกิด (ยังไม่มีประสบการณ์ใดๆ)มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบๆตัว ก็จะมีการดูดซับภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไป (ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล)และจะแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งใหม่ดังเช่นที่เคยมีประสบการณ์ เพราะคิดว่าสิ่งใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์เดิม เช่น เด็กเล็กอายุประมาณ 1 ขวบ เมื่อได้ของสิ่งใดมาจะเอาเข้าปากกัดหรือเขย่าเล่น แม้แต่หากเอาแท่งแม่เหล็กให้เด็กก็จะแสดงพฤติกรรมต่อแท่งแม่เหล็กนั้นเหมือนดังที่แสดงต่อสิ่งอื่น คือ กัดหรือเขย่า นั่นคือแสดงพฤติกรรมตามประสบการณ์เดิม ฉะนั้นลักษณะที่เด็กมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าใด ๆ ตามประสบการณ์เดิม เรียกว่า การดูดซับ (assimilation) การดูดซับจะมากน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ เด็กเล็ก ๆ ยังมีประสบการณ์แคบการรู้จักสิ่งแวดล้อมของเด็กยังน้อย เช่น เด็กรู้จักแต่แมว หมา เมื่อเด็กไปเห็นวัวเด็กจะดูดซับเข้ามาตามประสบการณ์น้อยที่เด็กมีอยู่ โดยที่คิดว่าวัวตัวนั้นเป็นแมวหรือหมา ฉะนั้น เด็กจะเรียก วัวตัวนั้นตามประสบการณ์ของเด็ก การที่เด็กได้มีปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะดูดซับประสบการณ์ต่างๆ เข้าไปเป็นภาพ หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ในสมองของแต่ละบุคคล ซึ่งภาพหรือโครงสร้างดังกล่าวนี้จะสะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ ตามประสบการณ์ที่ได้รับ
          2) กระบวนการปรับให้เหมาะ เป็นความสามารถในการปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือ เป็นการเปลี่ยนความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งใหม่ ดังเช่นตัวอย่างเด็กที่ได้รับแท่งแม่เหล็กครั้งแรกเด็กจะมีปฏิกิริยากับแท่งแม่เหล็กเหมือนกับที่เคยแสดงต่อของเล่นที่คุ้นเคยต่างๆ คือ กัดหรือเขย่า
          มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด อันเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงนี้ต้องอาศัย 2 กระบวนการ คือ กระบวนการดูดซับ
(assimilation) และกระบวนการปรับให้เหมาะ (accommodation)หรืออาจจะเคาะเล่น หรือโยนเล่นให้เกิดเสียง และโดยบังเอิญเด็กพบคุณสมบัติเฉพาะตัวของแท่งแม่เหล็ก คือสามารถดูดเหล็กได้ ฉะนั้น เด็กจะมีการปรับความเข้าใจเดิมที่มีต่อเหล็กแท่งแม่เหล็กนั้นว่า ไม่ใช่มีไว้ดูดหรือกัดหรือโยนเล่น แต่เด็กจะลองใช้แท่งแม่เหล็กนั้นไปดูดสิ่งต่าง ๆ ทั่ว ๆ ไป เพื่อดูว่าเหล็กแท่งนั้นจะดูดอะไรได้บ้างหรือดูดอะไรไม่ได้บ้าง พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเนื่องจากเด็กมีการปรับความเข้าใจเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งใหม่นั้น คือ กระบวนการปรับให้เหมาะ
          3) ความสมดุล (equilibration) ในการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใดก็ตามในครั้งแรกเด็กจะพยายามทำ
ความเข้าใจประสบการณ์ใหม่ด้วยการใช้ความคิดเก่าหรือประสบการณ์เดิม(กระบวนการดูดซับ, assimilation)แต่เมื่อปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ เด็กจะต้องเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ (กระบวนการปรับให้เหมาะ,accommodation)จนกระทั่งในที่สุดเด็กสามารถผสมผสานความคิดหรือประสบการณ์ใหม่นั้นให้กลมกลืนเข้ากันได้กับความคิดเก่า สภาพการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดความสมดุล (equilibration) ซึ่งทำให้บุคคลสามารถปรับแนวคิดเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ เกิดการเรียนรู้ การที่บุคคลมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจนเกิดสภาพที่สมดุลเช่น นี้จะนำไปสู่พัฒนาการทางสติปัญญาจากจุดนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กมีพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งและการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่วุฒิภาวะที่สมบูรณ์ในที่สุด สำหรับเด็กโตหรือผู้ใหญ่นั้นก็ยังเกิดกระบวนการดูดซับเช่นกันหากสิ่งเร้าที่เผชิญนั้นเป็นเรื่องใหม่ซึ่งไม่มีประสบการณ์มาก่อน และอาจเกิดกระบวนการปรับให้เหมาะหากสิ่งเร้าเผชิญนั้นตนเองมีข้อมูลหรือมีประสบการณ์บ้างแต่ไม่สมบูรณ์ จนกระทั่งเกิดสมดุลหรือเรียนรู้ เป็นต้น
          4) การปฏิบัติการ (operation) การปฏิบัติการหรือกระบวนการปฏิบัติเป็นหัวใจสำคัญของพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ เป็นสภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางสมองที่คิดแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ลักษณะสำคัญของการปฏิบัติการ คือ ความสามารถที่เด็กจะคิดย้อนกลับได้ หมายถึงความสามารถคิดกลับระหว่างจุดสุดท้ายและจุดเริ่มต้นได้ เช่น เมื่อเด็กรู้ว่า น้ำในแก้วใบหนึ่งเมื่อรินไปสู่ภาชนะอื่นที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน น้ำจำนวนนั้นก็ยังคงเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเรารินกลับมาสู่แก้วเดิม หรือการที่แบ่งดินน้ำมันออกเป็น 2 ก้อน เด็กรู้ว่าดินน้ำมัน 2 ก้อนนั้น เมื่อนำมารวมกันจะมีจำนวนเท่าเดิม เป็นต้น
          1.2.1 ลำดับขั้นการพัฒนาทางสติปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีของเพียเจท์ วิชัย ดิสสระ (2535) กล่าวว่าเพียเจท์ แบ่งขั้นตอนของการพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 sensory-motor operation, 2) concrete thinking operations, 3) formal operation
          ขั้นที่ 1 sensory-motor operation เป็นขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด ก่อนเด็กจะพูดได้ตอนแรกเกิดจนถึง 2 ขวบ สติปัญญาหรือความคิดจะแสดงออกในรูปของการกระทำ และพฤติกรรมที่ค่อย ๆ
สลับซับซ้อนขึ้น และมีลักษณะเป็นปฏิกิริยาสะท้อนน้อยลงเมื่อเด็กมีปฏิกิริยาโต้ตอบ หรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเด็กในระยะนี้จะสนใจเฉพาะวัตถุที่ตรงหน้าเขาเท่านั้น ถ้าเอาวัตถุหรือของเล่นนั้นไปซ่อนเด็กก็จะไม่ค้นหา เพราะไม่รู้ว่ามีของนั้นแต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นอีกสัก ระยะหนึ่ง เด็กจะค่อยเกิดความคิดรวบยอดของวัตถุหรือของเล่นขึ้นความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนที่จะเป็นพื้นฐานของความคิดรวบยอดของสิ่งของสถานที่ เวลา เป็นต้น
          ขั้นที่ 2 concrete thinking operations ช่วงอายุ 2 ถึง 11 ปี ในขั้นนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
          2.1 preconceptual phase อายุ 2-4 ปี เป็นตอนที่เด็กเริ่มมีความสามารถในการใช้ภาษาและมีความเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์รอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวข้องกับตนเองเท่านั้น เด็กจะรวม คน สุนัข ของเล่น ไว้ในพวกเดียวกัน ทั้งนี้เพราะเด็กรวมตามการรับรู้ของตัวเอง เนื่องจากเด็กมองเห็นในแง่ที่สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตอยู่เป็นประจำ แต่จะไม่สามารถเข้าใจในประเด็นอื่น ๆ ได้เลย
           2.2 intuitive phase อายุ 4-7 ปี เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดยังคงอยู่ในระดับ Preconceptual Phase เด็กยังไม่สามารถใช้เหตุผลที่แท้จริงได้การตัดสินใจขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
แต่เด็กจะตอบสนองสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้นเด็กจะเริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือแทนการคิด
          2.3 concrete operations อายุ 7-11 ปี เด็กในวัยนี้ สามารถสร้างกฎเกณฑ์ และตั้งเกณฑ์ใน
การแยกแยะสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่ เด็กเริ่มมีความสามารถในการคิดย้อนกลับ และมีความเข้าใจในเรื่องของ
เหตุผลและสามารถเข้าใจเปรียบเทียบสิ่งใด ต่ าสูงกว่ามากกว่าได้อย่างสมบูรณ์
 ขั้นที่ 3 formal operation อายุ 11 ปีขึ้นไป ความคิดแบบเด็กๆ จะสิ้นสุดลงเด็กสามารถคิดหา
เหตุผลนอกเหนือไปจากสิ่งแวลด้อมที่เขาประสบได้ เด็กสามารถคิดอย่างวิทยาศาสตร์สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีได้ มีความพอใจที่จะคิดพิจารณาสิ่งที่เป็นนามธรรม มีความเห็นว่าความเป็นจริงที่ปรากฏนั้นไม่สำคัญเท่ากับความคิดถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้
           การนำทฤษฎีเพียเจท์ไปใช้ในการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตรจากแนวความคิดของเพียเจท์ ในทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาดังที่กล่าวมาแล้วอาจนำไปใช้ในการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร ได้ดังนี้
                   1.เกี่ยวกับการประเมินผลศักยภาพทางสติปัญญา จากเรื่องนี้อาจเปรียบเทียบได้จากระดับอายุของเด็กเช่น เด็กที่มีอายุระดับ concrete operational แต่สามารถคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมเหมือนเด็กในวัย Formal Operational Stage ได้ ก็แสดงว่าเด็กคนนั้นมีพัฒนาการทางสติปัญญาก้าวหน้ากว่าปรกติ ในทางตรงกันข้าม หากเด็กคนนั้นยังไม่สามารถที่จะบวกเลขได้ หรือไม่สามารถจะคิดย้อนกลับได้เหมือนเด็กอื่น ๆ ในขั้นเดียวกันเราก็อาจจะสรุปได้ว่าเด็กคนนี้มีพัฒนาการทางสติปัญญาล้าหลังกว่าปกติ
                   2. เกี่ยวกับการเรียนรู้ เพียเจท์ เชื่อว่ามนุษย์จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้เพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของแต่ละคน เพียเจท์ได้เน้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองมากที่สุด เน้นที่การปะทะสังสรรค์ระหว่างครูกับนักเรียนน้อยมาก เพียเจท์เห็นว่าครูจะมีความสำคัญแต่เพียงเป็นผู้ร่วมมือ (collaborator) ในกระบวนการเรียนรู้ และเป็นผู้เตรียมเนื้อหาหรือประสบการณ์ที่จะให้เด็กค้นพบความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น
                   3. เกี่ยวกับการประเมินผลการเรียน ในประเด็นนี้หมายความว่า การวัดผลเด็กในวัยต่าง ๆ ให้กว้างหรือลึกอย่างไรก็จำเป็นต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดของเด็กแต่ละวัย เด็กซึ่งอยู่ในขั้นต้น ๆ เช่นระยะ sensory-motor ก็ควรวัดผลจากการกระทำหรือ กิจกรรมทางกลไก ซึ่งตรงกันข้ามกับการวัดผลของเด็กในขั้นformal operational ซึ่งต้องวัดการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งขึ้น
                   4. เกี่ยวกับการจัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตร ประโยชน์ที่สำคัญมากประการหนึ่งจากทฤษฎีของเพียเจท์ ก็คือการนำไปใช้ในการจัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตร Adler เสนอแนะว่าหลักสูตรของเด็กเล็กๆ จะต้องอยู่ในลักษณะที่เป็นกิจกรรมต่อสิ่งรอบๆ ตัวของเด็กเพราะพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัยนี้อยู่ในขั้น sensory-motor ส่วนเด็กที่อยู่ในวัยสูงขึ้น เช่นในขั้น concrete operational หรือในขั้น formal operational ก็ควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นรูปธรรมน้อยลง และได้เรียนรู้ทฤษฎีให้มากขึ้น แนวคิดของ Adler ดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นได้ดังนี้
2.3.2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
กลุ่มมนุษย์นิยมจะคำนึงถึงความเป็นคนของบุคคล คุณค่าของคนเป็นหลัก โดยจะมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่ว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มนุษย์เป็นผู้ที่มีอิสระสามารถที่จะนำตนเอง และพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ให้สังคม มีอิสระเสรีภาพที่จะเลือกทำสิ่งต่างๆที่จะไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน ซึ่งรวมทั้งตนเองด้วย มนุษย์เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและเป็นผู้สร้างสรรค์สังคม นั
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow,1962)
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
           1.มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น คือ ขั้นความต้องการางร่างกาย(physical need) ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย(safety need) ขั้นความต้องกาความรัก(love need) ขั้นความต้องการยอมรับของตนอย่างเต็มที่ (self-actualization) หากความต้องการขั้นพื้นฐานดีรับการตอบสนองอย่างพอเพียงสำหรับตนในแต่ละขั้น มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
            
2.มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง ประสบการณ์ที่เรียกว่า “peak experience”เป็น ประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ในภาวะดื่มด่ำจากการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความ เป็นจริง มีลักษะน่าตื่นเต้น เป็นความรู้สึกปีติ เป็นช่วงเวลาที่บุคคลเข้าใจเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้ เป็นสภาพที่สมบูรณ์ มีลักษณะผสมผสานกลมกลืน เป็นช่วงเวลาแห่งการรู้จักตนเองอย่างแม้จริง บุคคลที่มีประสบการณ์เชนนี้บ่อยๆจะสามารถพัฒนาตนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์
. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
              1.เข้า ใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ สามารถช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลได้ เนื่องจากพฤติกรรมเป็นการแสดงออกของความต้องการของบุคคล
              2.จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เขาต้องการเสียก่อน
              3.ใน กระบวนการเรียนการสอน หากรูสามารถหาได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการอยู่ในระดับใดขั้นใด ครูสามารถใช้ความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนนั้นเป็นแรงจูงใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
              4.การ ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนอย่างพอเพียง การให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด ประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความเป็นจริง

ทฤษฎีการเรียนรูของรอเจอร์ส(Rogers,1969)
ก.ทฤษฎีการเรียนรู้
            มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้(supportive atmosphere)และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(student-centered teaching)โดยครูใช้วิธีการสอนแบบชี้แนะ(non-directive)และทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน(facilitator) และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ(process learning)เป็นสำคัญ
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
               1.การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ไม่น่าหวาดกลัว น่าไว้วางใจ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
               2.ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว ครูจึงควรสอนแบบชี้แนะ(non-directive) โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตน(self- directive) และคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
               3.ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการ(process learning) เป็นสำคัญ เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญที่บุคคลใช้ในการดำรงชีวิตและแสวงหาความรู้ต่อไป
ทฤษฎีการพัฒนาตนเอง ของ คอมบ์ส (Arthur W. Combs ค.ศ.1912-1999) คอมบ์สเป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เกิดเมื่อ ปี ค.ศ.1912 มีความเชื่อว่า "พฤติกรรมส่วนใหญ่ของบุคคลเป็นผลมาจากการรับรู้สิ่งแวดล้อมในช่วงนั้นและเวลานั้น" ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับเรื่อง "life space" ของเลวิน จากแนวคิดนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้สอนควรจะต้องพยายามเข้าใจสภาพการเรียนการสอน โดยการท าความเข้าใจว่าผู้เรียนมองสิ่งต่างๆอย่างไร จากจุดนี้นำไปสู่ข้อสรุปว่า ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนนั้นจะต้องชักจูงให้ผู้เรียนปรับทั้งความเชื่อและการรับรู้ของผู้เรียนจนกระทั่งสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆต่างไปจากเดิม และแสดงพฤติกรรมที่ต่างไปจากเดิมความคิดของคอมบ์ส บางส่วนคล้ายกับบรูนเนอร์ ในกลุ่ม cognitive แต่จะเน้นในด้านการรับรู้ของผู้เรียนมากกว่าการคิดและการให้เหตุผลดังเช่นคนอื่นๆ นอกจากนั้น คอมบ์ส มีความเชื่อว่า การที่บุคคลรับรู้เกี่ยวกับตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งนำไปสู่หลักการสำคัญในการจัดการเรียนการสอน คือการช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองในแง่บวก ทั้งมาสโลว์และคอมบ์สต่างก็เน้นว่ามนุษย์นั้นมีลักษณะของการพึ่งตนเอง ทำอะไรด้วยตนเอง แต่มาสโลว์เน้นที่แรงจูงใจภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมตามลำดับขั้นของความต้องการ ส่วนคอมบ์สอธิบายว่าการแสดงพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นไปเพื่อความเพียงพอ ซึ่งหมายความว่าความต้องการพื้นฐานของมนุษย์คือความเพียงพอนั้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม หากเป็นเช่นนั้นแสดงว่า ผู้เรียนต้องการความเพียงพอเท่าที่จะเป็นไปได้ในทุกสถานการณ์      ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจะต่างจากแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมกลุ่ม S-R ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียนได้ด้วยการใช้การเสริมแรง คอมบ์สได้ให้แนวคิดว่างานของครูผู้สอนมิใช่เป็นเพียงการตั้งข้อกำหนด การปั้นเด็ก การขู่บังคับ การเยินยอ หรือการช่วยเหลือเด็ก แต่งานของครูผู้สอนควรเป็นไปในลักษณะผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน กระตุ้น ให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือเพื่อให้สามารถทำกิจกรรม เป็นผู้ร่วมคิด และเป็นเพื่อนกับผู้เรียน" จากความเชื่อของคอมบ์สดังกล่าว จึงเสนอลักษณะที่ดี
ของผู้สอนไว้ดังนี้
                   1) เป็นผู้ที่มีความรู้
                   2) เป็นเพื่อร่วมงานกับผู้เรียน
                   3) มีความศรัทธาและเชื่อว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้
                   4) เป็นผู้ที่มีความคิดในเชิงบวกกับตนเองซึ่งจะนำไปสู่ความรู้สึกนึกคิดในเชิงบวกกับผู้อื่น
                   5) มีความเชื่อว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้เรียนทุกคนให้ทำดีที่สุดเท่าที่ตัวผู้เรียนจะทำได้
          6) สามารถประยุกต์หลักทฤษฏีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
  .   
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์(Knowles)ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                2.การ เรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่างๆเข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน
                3.มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
                4.มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
                5.มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                1. การให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในการเรียน รับผิดชอบร่วมกันในกระบวนการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                2. ใน กระบวนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมต่างๆของตน เข้ามาใช้ในการทำความเข้าใจสิ่งใหม่ ประสบการณ์ใหม่
                3.ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้เลือกสิ่งที่เรียนและและวิธีเรียนด้วยตนเอง
                4. ใน กระบวนการเรียนการสอน ครูควรเข้าใจและส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณสมบัติเฉพาะตน ไม่ควรปิดกั้นเพียงเพราะเขาไม่เหมือนคนอื่น
                5.ในกระบวนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจด้วยตนเอง ลงมือกระทำ และยอมรับผลของการตัดสิใจหรือการกระทำนั้น
               
 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
            เปาโล แฟร์(Faire) เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ (Pedagogy of the oppressed) เขา กล่าวว่า ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจาการขดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆด้วยตน เอง
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                




ระบบการจัดการศึกษา ควรเป็นระบบที่ให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอลิส (Illich)ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
            อิวาน อิลลิช (Ivan Illich) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน (deschooling) ไว้ ว่า สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                การจัดการศึกษาไม่จำเป็นต้องจัดทำในลักษณะระบบของโรงเรียนควรจัดในลักษณะที่เป็นการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตตามธรรมชาติ    
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil)ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
 นีล (Neil) กล่าว ว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ไปด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพมนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีต่อตนเองและสังคม
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน เรียนเมื่อพร้อมที่จะเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ

สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism) จะ ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
   ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี  2  ทฤษฏี คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  
 2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การ จัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ 
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม มีแนวคิด 5 แนวคิด  คือ
1. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 
2.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์  เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง   
 3.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์   เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า  ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 
5. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช  เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน  การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ 
6. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม 

1 ความคิดเห็น: